วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16




วันที่ 19 มีนาคม 2563



             เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้ประกาศเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ COVID -19 ฉบับที่ 3  เพื่อให้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้ประกาศงดการเรียนการสอน มีการเรียนการสอนออนไลน์ ในเรื่องสอบ สอบออนไลน์ตามตารางสอบที่กำหนดไว้
     
       การเรียนการสอนออนไลน์ในวันที่ 19 มีนาคม 2563 อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาทุกคน    
1.ทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest ให้ได้คะแนนมากที่สุด และให้ครบทุกบท
2.ปรับแต่ง Weblog ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
3.เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมPHPเชื่อมต่อฐข้อมูล เพื่อนำไปเขียนโปรแกรม เพิ่ม ลบ แก้ไข รายงานข้อมูล ในระบบที่กลุ่มพัฒนา นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรม PHP ได้จากอินเทอร์เน็ต หรือ Youtube Clip

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15




วันที่ 12 มีนาคม 2563





             อาจารย์ให้ทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย โดยที่อาจารย์ดูความคืบหน้า โครงงาน
ได้แก่ บทที่ 1 , บทที่ 2 , บทที่ 3 พร้อมนำสไลด์นำเสนอ แขวนที่ google plus ในรายวิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา (มรย.) และในวันนี้ได้ นำเสนอโครงงานทุกกลุ่ม โดยที่อาจารย์และเพื่อนในห้องเป็นคนประเมิน  โดยในวันนี้ได้นำเสนอทุกกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ระบบบุคลากร




กลุ่มที่  2 ระบบการทะเบียนนักเรียน






กลุ่มที่ 3 ระบบวินัย




กลุ่มที่ 4 ระบบกิจกรรมนักเรียน





กลุ่มที่ 5 การจัดการหลักสูตร





กล่มที่ 6 ระบบห้องพยาบาล






ซึ่งกลุ่มเรา ระบบกิจกรรมนักเรียน อาจารย์ได้ประเมิน ดังนี้
1) ปรับสไลด์ให้เป็น Infographic มากขึ้น
2) การออกแบบ E-R Diagram ต้องลดความซ้ำซ้อน ดูความสัมพันธ์ให้เป็น 1 ต่อ กลุ่ม เป็นหลัก
ตัดประเภทกลุ่มต่อกลุ่มหรือ M to N โดยใช้หลัก Normalization มาพิจารณา
3) ทักษะการนำเสนอ ถ้าลดการอ่านสไลด์ จะดีมาก ควรนำเสนอใด้วยความเข้าใจ
             และทางกลุ่มเราจะนำไปปรับปรุ่งใช้ในครั้งต่อไป


ผลการเรียนรู้ครั้งที่14





วันที่ 5 มีนาคม 2563





          อาจารย์ติดราชการด่วน   ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานให้  โดยแต่ละกลุ่มจองห้องติว ที่ห้องสมุด จากนั้นทำการบันทึกลงใน Blogger ของตนเอง และในวันนั้นได้ดำเนินจัดทำโครงงาน  บทที่ 1 ,  บทที่ 2  ,  บทที่ 3 
           ได้ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางระบบของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย สร้างความรับผิดชอบในที่ได้รับมอบหมาย และพัฒนาระบบด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ ความรู้  ทักษะ  และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละประเภทนั้น ๆ

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13





วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563






             อาจารย์ได้อธิบาย Web Application กับ web service   มีความแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services
          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก็ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิก ๆ  ไม่กี่ที่ก็เสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า




           การทำงานของ Web Application นั้นโปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine  ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้นและการประมวลบางส่วนแต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บน Services ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น
            ฝั่ง Services จะประกอบไปด้วย Web Services ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS โดยนอกจาก Web Services จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น
       จากนั้น อาจารย์ได้ให้ นักศึกษาทำ PHP Tutorial ดังต่อไปนี้ และ อธิบายถึงการทำงานโครงงาน ตามแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  ในแต่ละบทที่ได้มอบหมายในครั้ง ซึ่งได้แก่ บทที่ 1 บทที่ 2 และบทที่ 3


ผลการเรียนรู้ครั้งที่12





วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563






               ในสัปดาห์นี้ทางอาจารย์ติดรับเสด็จ และได้มอบมายให้ทำงานกลุ่มบทที่ 1-3 ตามแบบฟอร์ม ในกลุ่มของพวกเราเลยนัดสมาชิกภายในกลุ่มมาทำงานของใบโครงการ 1-3 และได้ทำพอยด์นำเสนอ E-R DIAGRAM
             การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม  ทำให้มีประสบการณ์ต่าง ๆ ในการทำงานกับเพื่อน  รู้จักวางแผนทำงานเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถยังมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในครั้งหน้าได้อีกด้วย

ผลการเรียนรู้ครั้งที่11





วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563






          ก่อนจะเริ่มเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 3,4 จากนั่นให้ดาวโหลดโปรแกรม xampp for windows เพื่อสร้างตาราง ทำหน้าที่จำลองและได้ทดลองใช้ระบบด้วยภาษา php
    สุดท้ายนี้ สิ่งที่ได้รับในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปเตรียมความพร้อมต่อการสร้างระบบกิจกรรมนักเรียนเบื้อต้นเเละยังสามารถนำข้อคิด หรือสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้จนก่อให้เกิดผลที่ดีตามมา เเละดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดิฉันจะได้รับความรู้ ทักษะ เเละประสบการณ์ที่ดีจากรายวิชานี้อย่างเเน่นอน

ผลการเรียนรู้ครั้งที่10


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563
  




 ก่อนจะนำเสนอในส่วนของกลุ่มที่เหลืออาจารย์ได้อธิบายอาจารย์ได้อธิบายวงจรการพัฒนาระบบ (Systeme development life cycle) คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอนรูปแบบวงจรพัฒนาระบบมี 7 รูปแบบ แต่บางหนังสือมี 5 รูปแบบ ได้แก่
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project  Identification)               
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project  Initiating and Planning)                
3. วิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)                
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic  Design)             
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical  Design)                 
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System  Implementation)             
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System  Maintenance)
      
   กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ในปีพ.ศ. 2561(สามจังหวัดชายแดนใต้)

วัตถุประสงค์ -เพื่อศึกษาอัตราส่วนการศึกษาในระบบและนอกระบบว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดและศึกษา การเรียนการสอนในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างอย่างไร
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์



Points scored
         การศึกษาเป็นส่วนที่จะเข้ามาช่วยในการพัฒนาในหลายๆเรื่องจะเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
และการศึกษาหรือความรู้จะไม่มีวันสิ้นสุดไม่ว่าจะเรียนในระบบ นอกระบบ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียง สุดท้ายแล้วมีความรู้ที่เท่าเทียมกัน อยู่ที่เราว่าจะขยันมากน้อยเพียงใด



กลุ่มที่ 5 การสอบ 9 วิชาสามัญ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการทราบจำนวนนักเรียนที่สนใจในการสอบ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี
2. เพื่อศึกษาสถิติคะแนนสอบของ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี



   พบว่าการสอบ 9 วิชาสามัญก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนที่จะก้าวไปสู่ใระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากผู้ที่เข้าสมัครสอบที่มีจำนวนมาก เพราะว่าการสอบ 9 วิชาสามัญจะเป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนที่จบมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางสาขาวิชาก็ต้องการผลคะแนนสอบ


     กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 - 2561

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.



บันทึกบรรยากาศรายออีดิ้ลอัฎฮา กับการเดินทางของ เนื้อกุรบาน ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=abUkcG2Zf1k กิจกรรมในวันรายอนี้ คือการเชื...